วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

สุพรรณิการ์ เล็บนางงามแสล้ม ต้นนางแย้มแกมดองดึง สุพรรณิกากากระทึง ดอกราชพฤกษ์ซึกไทรไตร วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารทองแดง”สุพรรณิการ์มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ฝ้ายคำ” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ ๓ -๗ เมตร ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบแสงแดดจัด ออกดอกหลังจากใบร่วงหมดในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ใบมีลักษณะมน ขอบเว้าเป็น ๕ แฉก กว้างประมาณ ๖ นิ้ว ยาวประมาณ ๘ นิ้ว ท้องใบมีขนอ่อน ดอกใหญ่มี ๕ กลีบ สีเหลืองสด กลีบดอกงุ้มเข้าหากันคล้ายถ้วย ดอกมีขนาดกว้างประมาณ ๕ นิ้ว กลางดอกมีเกสรตัวผู้มากมาย เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลมรี ภายในผลมีเมล็ดมีปุยคล้ายปุยฝ้าย การขยายพันธุ์ ใช้วิธีเพาะเมล็ด
ผกากรอง มะลิวัลย์พันระกำขึ้นแกมจาก ได้สามวันกรรมพรากไปจากห้อง จำปีเคียงโศกระย้า ผกากรอง พี่โศกเศร้าเฝ้าตรองกว่าสองปี…”วรรณคดี : “ขุนช้างขุนแผน”

บุนนาค พิกุลบุนนาคมากมีตามทางหว่างวิถีสีขาวสดชมพลางทางเร่งรีบรถเลียบตามบรรพตคีรี วรรณคดี : “อิเหนา” ตอนท้าวปันจะรากันไปในพิธีอภิเษกสังคามาระตา


ดอกกรรณิการ์ กรรณิการ์ ก้านสีแดงสดคิดผ้าแสดติดขลิบนางเห็นเนื้อเรื่อโรงรางห่มสองบ่าอ่าโนเน่ วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “นิราศธารโศก”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น